ต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการต่อภาษีแบบออนไลน์1 min read
ปัจจุบันโลกของเรานั้นได้เข้าสู้โลกของอินเตอร์เน็ตแบบเกือบเต็มตัวแล้ว
เพราะฉะนั่นการต่อภาษีก็เลยกลายเป็นเรื่องที่ง่ายไปเลย เพราะไม่ต้องไปนังรอคิวนานๆแถมยังต้องลางาน เสียทั้งเงินเสียเวลาไปกับการต่อภาษีอีกแล้ว เพราะตอนนี้เราสามารถนังอยู่หน้าคอมที่บ้านแล้วก็ต่าภาษีได้เลย กลายเป็นเรื่องง่ายๆที่ใครก็สามารถทำได้แถมยังสะดวกสบายไม่ต้องขี่รถยนต์ตากแดดร้อนๆไปนังต่อคิวอีกแล้ว
สิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับการต่อภาษีออนไลน์นั้นมีอะไรบ้าง
มีใครที่จะจำบรรยากาศในตอนเสียภาษีรถไม่ได้บ้างละ ในวันที่แดดร้อนมากและเป็นวันที่ภาษีก็ใกล้จะหมดแถมยังต้องขี่รถไปต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งอีก แถมยังต้องลางานเพื่อไปต่อภาษีซะด้วย เนื่องจากสำนักงานขนส่งนั้นปิดทุก เสาร์-อาทิตย์ ซึ่งก็ปิดช่วงที่เราหยุดงานพอดีอีก แต่ด้วยความที่โชคนั้นช่วย ซึ่งปี พ.ศ.2562 นี้ ผู้ที่มีรถที่ต่อภาษีเป็นปกติใน 4 เงื่อนไขต่อไปนี้ สามารถทำเรื่องขอต่อภาษีออนไลน์ได้โดยไม่ต้องเดินทางมายังสำนักงานขนส่งแล้ว มาดูกันว่ามีรถอะไรบ้าง
รถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี
- รถนั่งส่วนบุคคล รย.1 ไม่เกิน 7 คน
- รถนั่งส่วนบุคคล รย.2 ไม่เกิน 7 คน
- รถบรรทุก รย.3
รถจักรยานยนต์อายุไม่เกิน 5 ปี
- รถจักรยานยนต์ รย.12
ที่อยู่เว็บไซต์ https://www.dlt.go.th/th/ และเลือกที่บริการขอ “ชำระภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต” ดังนี้
ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ต้องทำอย่างไร?
เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์แล้วหากไม่เคยกรอก Log In เพื่อสมัครสมาชิกเว็บไซต์ ก็ต้องกรอกสมัครใหม่ (หากลืมรหัสผ่านกดลืมรหัสผ่าน) โดยการใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เลขนิติบุคคลที่ใช้จดทะเบียนกับรถยนต์ โดยสามารถให้ผู้อื่นทำแทนเจ้าของรถได้ แต่คนกรอกข้อมูลก็ต้องรู้ว่ามีข้อมูลอะไรที่ต้องใส่ในลำดับหน้าถัดไป
เมื่อเข้าสู่หน้ากรอกข้อมูลขอต่อทะเบียนภาษี ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยเปิดบริการให้ชำระค่าธรรมเนียมด้วยบัตรเครดิตได้ แต่จะมีค่ารูด หรือ ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเครดิตด้วย มาดูกันว่า รถยนต์ 1 คัน จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง?
ค่าธรรมเนียมต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ จ่ายเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการต่อภาษีออนไลน์นั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1) ค่าธรรมเนียมการออกเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ ค่าจัดส่งเอกสาร 40 บาท และ ค่าธรรมเนียมธนาคาร 20 บาท (หากใช้บัตรเครดิต มีค่ารูด ร้อยละ 2 และ VAT7% ของค่าธรรมเนียม)
2) ค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาต ดูอัตราค่าธรรมเนียมและบัญชีอัตราภาษี ตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบกและตาม พ.ร.บ.รถยนต์
หากทะเบียนรถยนต์ที่ต่ออายุเป็นประจำไม่ขาด จะสะดวกตรงที่จ่ายผ่านออนไลน์ได้ แต่ต้องเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่อายุไม่เกิน 7 ปีเท่านั้น และหากเป็นรถนอกเหนือเงื่อนไข 4 ข้อที่กล่าวมาในตอนต้นก็ยังคงต้องไปต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งใกล้บ้านอยู่ดี